วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

รายชื่อไม้ประดับดูดสารพิษ 50 ชนิด

รายชื่อไม้ประดับดูดสารพิษ 50 ชนิด ตามคำแนะนำของดร.วูฟเวอร์ตัน



หมากเหลือง  จั๋ง  ปาล์มไผ่  ยางอินเดีย  Dracaena  ไอวี  สิบสองปัญนา  ไทรใบเล็ก  บอสตันเฟิร์น  
เดหลี  วาสนาอธิษฐาน  พลูด่าง  เฟิร์น  เบญจมาศ  เยอบีร่า  ประกายเงิน  เข็มริมแดง  มรกตแดง  
ออมทอง  สาวน้อยประแป้ง  ปาล์มใบไผ่  ไทรย้อยใบแหฃม  หนวดปลาดหมึก  Wax begonia  
ฟิโลเดนดรอน ฟิโลใบหัวใจ  ลิ้นมังกร  สโนว์ดรอป  ฟิโลหูช้าง  สนฉัตร  เสน่ห์จันทร์แดง  แววมยุรา  กล้วยแคระ
  Christmas and Easter Cactus  ไอวีใบโอ๊ก  ซุ้มกระต่าย  กล้วยไม้พันธ์ุหวาย  เศรษฐีเรือนใน  เขียวหมื่นปี  ดอกหน้าวัว
โกสน  คริสตมาส  Dwarf Azalea  Peacock Plant  หางจระเข้  Cyclamen  สัปปะรดสี  ทิวลิป  กล้วยไม้ผีเสื้อราตรี  กุหลาบหิน

อ้างอิง
ไม้ประดับดูดสารพิษ โดย คมสัน หุตะแพทย์

ตึกพิษพิชิตได้ด้วยต้นไม้

     อาการของโรคแพ้ตึกหรือตึกเป็นพิษ เป็นปัญหามลภาวะทางอากาศภายในที่รุนแรง และกำลังคุมคามต่อสุขภาพของผู้คนที่ทำงานในอาคารสำนักงาน หรือบ้านเรือนทั่วโลก โดยเฉพาะผู้อยู่อาศัยในเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพมหานคร การป้องกันและการแก้ปัญหาตึกเป็นพิษนี้คงต้องย้อนกลับไปถึงการออกแบบ หรือปรับปรุงอาคารให้มีการระบายอากาศที่ดีมีประสิทธิภาพ มีการไหลเวียนเอาอากาศที่บริสุทธิ์จากธรรมชาติเข้าไปในอาคาร ให้เกิดการถ่ายเทอากาศเสียออกไป หันกลับมาใช้วัสดุก่อสร้างและตกแต่งที่มาจากธรรมชาติมากขึ้น มีการจัดวางเครื่องใช้ไฟฟ้าในตำแหน่งที่เหมาะสมที่มีการถ่ายเทอากาศได้สะดวก ลดหรือเลิกการใช้สารเคมีในสำนักงาน หรือบ้านเรือน รวมไปถึงการนำต้นไม้ซึ่งมีคุณสมบัติในการฟอกอากาศเข้ามาใช้ช่วยปรับปรุงคุณภาพอากาศในสำนักงานและบ้านเรือนให้ดีขึ้น เพราะมีต้นไม้หลายชนิดที่นอกจากจะทำหน้าที่ผลิตออกซิเจน และขจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แล้ว มันยังมีคุณสมบัติพิเศษที่แตกต่างจากต้นไม้ชนิดอื่นๆ ที่ไม่สามารถทำได้นั่นคือ การดูดสารพิษต่างๆ ที่กล่าวมา เป็นการช่วยลดความรุนแรงของปัญหาอากาศเป็นพิษไปได้มากทีเดียว






อ้างอิง
ไม้ประดับดูดสารพิษ โดย คมสัน หุตะแพทย์

ตึกเป็นพิษ Sick Building Syndrome

ปัญหามลภาวะทางอากาศภายในอาคารสำนักงาน และบ้านเรือน

โรคแพ้ตึก หรือ ตึกเป็นพิษ

   องค์การอนามัยโลกได้ยอมรับอย่างเป็นทางการแล้วว่า อาการที่เรียกว่า "โรคแพ้ตึก" หรือ "ตึกเป็นพิษ" นั้นเกิดขึ้นจริง ซึ่งอาการของโรคนี้ได้แก่ ปวดศีรษะ เซื่องซึม ผื่นคันตามผิวหนัง ระคายเคืองตา จมูก คอ ระบบทางเดินหายใจมีปัญหา เป็นต้น 
   ผู้ที่ป่วยโดยสาเหตุนี้มักเป็นผู้ที่อาศัยหรือทำงานในตึกใดตึกหนึ่งเป็นเวลานานๆ โดยไม่ได้มีอาการป่วยจากสาเหตุอื่น เมื่อผู้นี้ออกห่างจากตึกที่เคยทำงานหรืออยู่อาศัยสักพักหนึ่งอาการต่างๆ ที่เคยป่วยก็จะลดลงหรือหายไป และกลับมาเป็นใหม่เมื่อกลับเข้ามาในตึกหรืออาคารนั้นอีก 
   โรคแพ้ตึก หรือ ตึกเป็นพิษ มีสาเหตุใหญ่ๆ อยู่ 3 ประการด้วยกันคือ
1. การระบายอากาศภายในอาคารหรือตึกไม่ดี
2. ตึกหรืออาคารมีการใช้วัสดุก่อสร้างและตกแต่งจากวัสดุสังเคราะห์ ซึ่งเป็นบ่อเกิดของสารพิษต่างๆ 
3. ก๊าซพิษที่ปล่อยออกจากตัวมนุษย์เอง




อ้างอิง
ไม้ประดับดูดสารพิษ โดย คมสัน หุตะแพทย์