วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

รายชื่อไม้ประดับดูดสารพิษ 50 ชนิด

รายชื่อไม้ประดับดูดสารพิษ 50 ชนิด ตามคำแนะนำของดร.วูฟเวอร์ตัน



หมากเหลือง  จั๋ง  ปาล์มไผ่  ยางอินเดีย  Dracaena  ไอวี  สิบสองปัญนา  ไทรใบเล็ก  บอสตันเฟิร์น  
เดหลี  วาสนาอธิษฐาน  พลูด่าง  เฟิร์น  เบญจมาศ  เยอบีร่า  ประกายเงิน  เข็มริมแดง  มรกตแดง  
ออมทอง  สาวน้อยประแป้ง  ปาล์มใบไผ่  ไทรย้อยใบแหฃม  หนวดปลาดหมึก  Wax begonia  
ฟิโลเดนดรอน ฟิโลใบหัวใจ  ลิ้นมังกร  สโนว์ดรอป  ฟิโลหูช้าง  สนฉัตร  เสน่ห์จันทร์แดง  แววมยุรา  กล้วยแคระ
  Christmas and Easter Cactus  ไอวีใบโอ๊ก  ซุ้มกระต่าย  กล้วยไม้พันธ์ุหวาย  เศรษฐีเรือนใน  เขียวหมื่นปี  ดอกหน้าวัว
โกสน  คริสตมาส  Dwarf Azalea  Peacock Plant  หางจระเข้  Cyclamen  สัปปะรดสี  ทิวลิป  กล้วยไม้ผีเสื้อราตรี  กุหลาบหิน

อ้างอิง
ไม้ประดับดูดสารพิษ โดย คมสัน หุตะแพทย์

ตึกพิษพิชิตได้ด้วยต้นไม้

     อาการของโรคแพ้ตึกหรือตึกเป็นพิษ เป็นปัญหามลภาวะทางอากาศภายในที่รุนแรง และกำลังคุมคามต่อสุขภาพของผู้คนที่ทำงานในอาคารสำนักงาน หรือบ้านเรือนทั่วโลก โดยเฉพาะผู้อยู่อาศัยในเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพมหานคร การป้องกันและการแก้ปัญหาตึกเป็นพิษนี้คงต้องย้อนกลับไปถึงการออกแบบ หรือปรับปรุงอาคารให้มีการระบายอากาศที่ดีมีประสิทธิภาพ มีการไหลเวียนเอาอากาศที่บริสุทธิ์จากธรรมชาติเข้าไปในอาคาร ให้เกิดการถ่ายเทอากาศเสียออกไป หันกลับมาใช้วัสดุก่อสร้างและตกแต่งที่มาจากธรรมชาติมากขึ้น มีการจัดวางเครื่องใช้ไฟฟ้าในตำแหน่งที่เหมาะสมที่มีการถ่ายเทอากาศได้สะดวก ลดหรือเลิกการใช้สารเคมีในสำนักงาน หรือบ้านเรือน รวมไปถึงการนำต้นไม้ซึ่งมีคุณสมบัติในการฟอกอากาศเข้ามาใช้ช่วยปรับปรุงคุณภาพอากาศในสำนักงานและบ้านเรือนให้ดีขึ้น เพราะมีต้นไม้หลายชนิดที่นอกจากจะทำหน้าที่ผลิตออกซิเจน และขจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แล้ว มันยังมีคุณสมบัติพิเศษที่แตกต่างจากต้นไม้ชนิดอื่นๆ ที่ไม่สามารถทำได้นั่นคือ การดูดสารพิษต่างๆ ที่กล่าวมา เป็นการช่วยลดความรุนแรงของปัญหาอากาศเป็นพิษไปได้มากทีเดียว






อ้างอิง
ไม้ประดับดูดสารพิษ โดย คมสัน หุตะแพทย์

ตึกเป็นพิษ Sick Building Syndrome

ปัญหามลภาวะทางอากาศภายในอาคารสำนักงาน และบ้านเรือน

โรคแพ้ตึก หรือ ตึกเป็นพิษ

   องค์การอนามัยโลกได้ยอมรับอย่างเป็นทางการแล้วว่า อาการที่เรียกว่า "โรคแพ้ตึก" หรือ "ตึกเป็นพิษ" นั้นเกิดขึ้นจริง ซึ่งอาการของโรคนี้ได้แก่ ปวดศีรษะ เซื่องซึม ผื่นคันตามผิวหนัง ระคายเคืองตา จมูก คอ ระบบทางเดินหายใจมีปัญหา เป็นต้น 
   ผู้ที่ป่วยโดยสาเหตุนี้มักเป็นผู้ที่อาศัยหรือทำงานในตึกใดตึกหนึ่งเป็นเวลานานๆ โดยไม่ได้มีอาการป่วยจากสาเหตุอื่น เมื่อผู้นี้ออกห่างจากตึกที่เคยทำงานหรืออยู่อาศัยสักพักหนึ่งอาการต่างๆ ที่เคยป่วยก็จะลดลงหรือหายไป และกลับมาเป็นใหม่เมื่อกลับเข้ามาในตึกหรืออาคารนั้นอีก 
   โรคแพ้ตึก หรือ ตึกเป็นพิษ มีสาเหตุใหญ่ๆ อยู่ 3 ประการด้วยกันคือ
1. การระบายอากาศภายในอาคารหรือตึกไม่ดี
2. ตึกหรืออาคารมีการใช้วัสดุก่อสร้างและตกแต่งจากวัสดุสังเคราะห์ ซึ่งเป็นบ่อเกิดของสารพิษต่างๆ 
3. ก๊าซพิษที่ปล่อยออกจากตัวมนุษย์เอง




อ้างอิง
ไม้ประดับดูดสารพิษ โดย คมสัน หุตะแพทย์

วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ต้นไม้ฟอกอากาศ ขจัดสารพิษในอากาศ


                    ของภายในบ้านไม่ว่าจะเป็นพลาสติก น้ำยาทำความสะอาดบ้าน วัสดุเคลือบผิว ซึงสิ่งต่างๆที่อยู้รอบตัวนั้นล้วนมีสารพิษอยู่ปนเปื้อนภายในอากาศ แต่ก็มีวิธีการแก้ไขโดยการหาต้นไม้มาปลูกเพื่อที่จะดูดสารพิษท้ังหลายซึ่งก็มีต้นไม้หลากหลายชนิดหลายสายพรรณให้คัดสรร และยังสามารถหาซื้อได้ง่าย โดยจะแนะนำ 10 ต้นไม้ฟอกอากาศ คือ

                    1. ว่านหางจระเข้


หางจระเข้เป็นพรรณไม้ที่ได้รับความนิยมและรู้จักอย่างกว้างขวางเพราะเป็นพืชสมุนไพรที่ให้ประโยชน์กับมนุษย์อย่างมาก โดยเฉพาะสรรพคุณทางยาที่ใช้รักษาแผล
หางจระเข้มีลำต้นที่ติดดินไม่สูงมากนัก ใบมีลักษณะอวบน้ำและกักเก็บน้ำได้ดี มีสีเขียว ยาวประมาณ 1 ฟุต โคนใบมีขนาดใหญ่และเล็กเรียวขึ้นไปยังปลายใบ ขอบใบมีลักษณะหยักคล้ายหนาม ภายในเนื้อใบมีลักษณะเป็นวุ้นเมือก หางจระเข้นิยมปลูกไว้ตามหน้าบ้าน ข้างทาง หรือใช้ตกแต่งสวนก็ได้
หางจระเข้เป็นพรรณไม้ที่ได้รับความนิยมและรู้จักอย่างกว้างขวางเพราะเป็นพืชที่สามารถนำมาทำยาได้ จึงนิยมนำมาปลูกเพื่อการค้า และปลูกเพื่อประดับตกแต่งสวน นอกจากนี้ยังมีประสิทธิภาพสูงในการดูดสารพิษจำพวก ฟอร์มัลดีไฮด์ ได้อีกด้วย


2. ตีนตุ๊กแกฝรั่ง


ตีนตุ๊กแกฝรั่งเป็นไม้เลื้อยที่เกาะอาศัยตามต้นไม้ใหญ่ นิยมปลูกติดกับกำแพงให้ทอดเลื้อยคลุมทั่วทั้งกำแพง ชอบแสงแดดจัด แต่ก็สามารถปรับตัวให้อยู่ในที่มีแสงแดดรำไร จึงสามารถนำมาปลูกเป็นไม้ประดับภายในอาคารได้ โดยปลูกในกระถางแขวนให้เถาและใบห้อยย้อย หรือปลูกให้เลื้อยพันกับหลักในแนวตั้งก็ดูสวยงาม เนื่องจากใบที่ดูอ่อนช้อย
ตีนตุ๊กแกฝรั่งเป็นไม้เถาที่มีใบแฉก 3–5 แฉก คล้ายใบตำลึงมีมากมายหลายพันธุ์ หลายสี เช่น พื้นใบสีเขียวล้วน พื้นใบเขียวของใบด่างขาว หรือเหลืองอ่อน กลางใบอาจมีรอยด่างสีเขียวอมเทา
ตีนตุ๊กแกเจริญเติบโตได้ดีในดินที่ร่วนซุยและดินปนทราย ชอบแสงแดดจัด แต่ก็สามารถปรับตัวให้อยู่ในที่มีแสงแดดรำไร ขยายพันธุ์ด้วยการชำกิ่งหรือทับกิ่ง มีประสิทธิภาพสูงในการดูดสารพิษจำพวกสารเบนซิน และยังคายความชื้นให้แก่บรรยากาศภายในห้องได้มากอีกด้วย จึงเป็นไม้ประดับที่น่าสนใจมากอีกชนิดหนึ่ง 

                    3. ต้นยางอินเดีย


ยางอินเดียเป็นไม้ประดับที่รู้จักในเมืองไทยมานานแล้ว เป็นพรรณไม้ขนาดใหญ่ ถ้าปลูกกลางแจ้งจะสูงไม่มากนัก ถึงแม้จะเป็นไม้ที่ชอบแสงแดดแต่ก็เจริญเติบโตได้ในสภาพที่แสงน้อย ปลูกง่ายทนทาน มิหนำซ้ำยังมีคุณสมบัติดีเด่นในการดูดสารพิษจากอากาศภายในอาคารได้ดีเยี่ยม ยางอินเดียมีลำต้นตั้งตรง ลักษณะเด่นอยู่ที่ใบ มีลักษณะกลมรีปลายแหลม ใบหนาสีเขียวเข้มเป็นมันวาวดูสวยงาม ปลูกเป็นไม้ประดับได้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร
ในบรรดาต้นไม้ขนาดใหญ่ด้วยกันแล้ว ยางอินเดีย เป็นไม้ประดับภายในอาคารที่น่าสนใจ เพราะเจริญเติบโตได้ดีถึงแม้จะมีแสงน้อย ปลูกง่าย ทนทาน ต้องการน้ำไม่มาก แต่ในทางตรงกันข้ามกลับเป็นพืชที่คายความชื้นได้มากและที่สำคัญเป็นพืชที่สามารถดูดสารพิษช่วยฟอกอากาศภายในบ้านและสำนักงานได้อย่างดีเยี่ยม

                    4. ลิ้นมังกร


ลิ้นมังกรเป็นพืชที่มีลักษณะโดดเด่นที่ใบสวยงามแปลกตา ปลูกได้ทั้งภายนอกอาคาร และปลูกลงในกระถางเพื่อประดับภายในอาคารและบ้านเรือน ถึงแม้จะเป็นพืชที่โตช้าแต่ก็ปลูกง่ายและทนทาน
ลิ้นมังกรนั้นมีหลายชนิด เช่น ลิ้นมังกรสั้น ลิ้นมังกรยาว ลิ้นมังกรลาย หรือเรียกว่าหอกพระอินทร์ ลิ้นมังกรมีลำต้นเป็นหัวหรือเหง้าอยู่ใต้ดิน ใบโผล่พ้นดินเป็นใบยาวแหลมคล้ายหอกแข็งตั้งตรงสูงประมาณ 1 เมตร ใบสีเขียว มีลายตามแนวขวาง ลิ้นมังกรยาวจะมีสีเหลืองบริเวณขอบใบเป็นแนวยาว ดอกมีสีขาวอมเขียว
ถึงแม้คุณสมบัติในการดูดสารพิษของลิ้นมังกรจะไม่มากนัก แต่คุณสมบัติเด่นของลิ้นมังกรอยู่ที่เป็นพืชที่คายออกซิเจนออกมาตอนกลางคืนและดูดคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไป จึงเหมาะที่จะปลูกไว้ในห้องนอน

                    5. ต้นเดหลี


เดหลีเป็นไม้ประดับที่โดดเด่นมากชนิดหนึ่ง เนื่องจากให้ดอกสีขาวที่สวยงาม จึงเป็นที่นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับภายในอาคาร เป็นไม้ที่คายความชื้นสูง ในขณะที่มีความสามารถสูงในการดูดพิษภายในอาคาร เดหลีเป็นไม้ประดับที่มีใบสีเขียวเข้มมันเป็นวาว ดอกเป็นช่อสีขาวหรือขาวแกมเหลือง กาบหุ้มช่อดอกมีสีขาวคล้ายดอกหน้าวัว เป็นไม้พุ่มเตี้ยสูงประมาณ 30–60 เซนติเมตร โดยธรรมชาติแล้วเดหลีชอบขึ้นอยู่ตามริมลำธารที่มีร่มเงาในป่าฝนเขตร้อน แต่เมื่อนำมาปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับภายในอาคารเดหลีก็สามารถปรับตัวได้ดี และเป็นไม้ดอกไม้ประดับในจำนวนน้อยชนิดที่สามารถออกดอกได้ภายในอาคาร ถึงแม้จะมีความชื้นต่ำและได้รับแสงจากหลอดไฟฟ้าเท่านั้น เพียงแต่ดินต้องมีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ
เดหลีสามารถดูดสารพิษจำพวกแอลกอฮอล์ อาซีโตน ไตรคลอไรเอทีรีน เบนซีนและฟอร์มาดีไฮด์ และสามารถดูดได้ในปริมาณมาก จึงไม่ควรลืมที่จะปลูกเดหลีเป็นไม้ประดับไว้ภายในอาคารสำนักงานหรือภายในบ้านเรือน

                    6. ฟิโลเซลลอม


ฟิโลเซลลอมเป็นพืชในตระกูลฟิโล มีลักษณะใกล้เคียงกับซานาดูที่มีความโดดเด่นที่ใบเป็นแฉก ดูสวยแปลกตา ก้านใบยาว แผ่กว้างออกโดนรอบดูสวยงาม จึงเป็นฟิโลเดนดรอนอีกชนิดหนึ่งที่เหมาะเป็นไม้ประดับทั้งภายในและภายนอกอาคาร
ฟิโลเซลลอมเป็นพืชที่ต้องการความชื้นและแสงแดดพอควร แต่ถ้าขาดน้ำหรืออยู่ในที่มีแสงน้อยก็ยังเจริญเติบโตอยู่ได้ แต่จะเติบโตได้ไม่เต็มที่ พื้นที่ที่ตั้งวางก็ควรมีพื้นที่โดยรอบต้นให้กว้างพอสมควร เพื่อให้ก้านใบแผ่ออกไปได้เต็มที่
ฟิโลเซลลอมเป็นพืชที่คายความชื้นให้แก่สภาพแวดล้อมภายในห้องได้มาก และมีความสามารถในการดูดสารพิษได้บ้าง

                    7.ปาล์มไผ่


ปาล์มไผ่เป็นปาล์มที่มีหน่อและแตกเป็นกอ ลำต้นสีเขียวขนาดเล็กเป็นข้อปล้องเห็นได้ชัด ดูคล้ายต้นไผ่ แต่สูงไม่มากเพียง 1.5-2 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว เรียวแหลม สีเขียวมัน ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ แผ่ออกดูอ่อนช้อย
ปาล์มไผ่เป็นที่นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับภายในอาคารด้วยรูปทรงที่สวยงาม ถึงแม้จะเป็นปาล์มที่เจริญเติบโตช้า แต่ก็เลี้ยงง่าย ทนทาน ไม่ต้องการแสงแดดมาก ทนต่อแมลง และที่สำคัญคือมีอัตราการคายความชื้นสูงจึงเพิ่มความสดชื่นให้อากาศภายในสำนักงานและบ้านเรือนได้เป็นอย่างดี
ปาล์มเป็นไม้ประดับที่มีความสามารถสูงมากในการดูดสารพิษที่ปนเปื้อนในอากาศ โดยเฉพาะสารพิษจำพวกเบนชิน ไตรคลอไรเอททาริน ฟอร์มาดิไฮ จึงสมเหมาะที่จะนำมาปลูกเป็นไม้ประดับภายในอาคารเพื่อประโยชน์ในการฟอกอากาศให้บริสุทธิ์อีกด้วย

                    8. เศรษฐีเรือนใน


เศรษฐีเรือนในเป็นไม้ประดับชนิดแรกๆ ที่ได้รับการเผยแพร่จากองค์การนาซ่าของสหรัฐอเมริกา ว่ามีคุณสมบัติในการดูดสารพิษภายในอาคารได้เป็นอย่างดี เศรษฐีเรือนในเป็นไม้กอขนาดเล็กที่นิยมปลูกเป็นไม้ประดับทั้งภายในและภายนอกอาคาร โดยปลูกในกระถางแขวนหรือปลูกเป็นพืชคลุมดินก็ได้ ใบมีลักษณะคล้ายใบหญ้า ขอบใบมีสีเขียวยาวตลอดใบ กลางใบเป็นสีขาว ใบมีความยาว 15–30 ซม. โค้งงอลงด้านล่าง
เศรษฐีเรือนในมีลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดิน เมื่อแก่เต็มที่จะมีลำต้นอ่อนแตกออกมาเป็นกิ่ง มีต้นอ่อนเล็กๆ เป็นกระจุกอยู่ตรงปลายของกิ่ง ดูน่ารักดี ฝรั่งจึงเรียกว่า ต้นแมงมุม (Spider Plant) หรือ ต้นเครื่องบิน (Airplane Plant) เนื่องจากเวลาลมพัดต้นอ่อนจะแกว่งไปมาเหมือนเครื่องบิน ต้นอ่อนที่แตกออกมานี้สามารถตัดไปปลูกเป็นต้นใหม่ได้อย่างง่ายดาย
เศรษฐีเรือนในเป็นพืชที่ไม่ค่อยคายน้ำเท่าใดนัก แต่มีการดูดสารพิษจากอากาศภายในอาคารได้ดีมากชนิดหนึ่ง

                    9. พลูด่าง


พลูด่างเป็นไม้เลื้อยที่นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับภายในอาคารและบ้านเรือนมานานแล้ว ด้วยรูปใบและสีเขียวแต้มเหลืองที่ดูสวยงาม โดยเฉพาะเมื่อมันเลื้อยพันหรือห้อยย้อยลงมาดูอ่อนช้อยและเพิ่มความมีชีวิตชีวา แต่มีน้อยคนนักที่จะรู้ถึงความสามารถในการดูดสารพิษในอากาศของพลูด่าง
พลูด่างเป็นไม้เลื้อยที่ลำต้นมีรากงอกออกมาตามข้อ ใบกลมป้อมคล้ายรูปหัวใจ ปลายใบแหลม โคนใบโค้งมนเล็กน้อย ใบมีสีเขียวและมีรอยด่างสีเหลืองอยู่ที่ใบทำให้ดูสวยงาม
พลูด่างเป็นพืชที่ปลูกง่าย แม้เพียงปักชำในน้ำก็สามารถเจริญเติบโตได้และเจริญเติบโตได้รวดเร็ว ต้องการน้ำมากและแสงแดดพอสมควร แต่ก็สามารถอยู่ได้แม้มีแสงและน้ำน้อย นิยมปลูกในกระถางแขวนหรือกระถางที่มีเสาเหล็กให้เลื้อยพันหรือให้เลื้อยตามโคนต้นไม้ใหญ่ ถ้าปลูกลงดินใบจะใหญ่มาก

                    10. เข็มสามสี

          เป็นไม้ที่ใช้ประโยชน์จากใบ และที่ชื่อเข็มสามสีก็เพราะ ใบเรียวแหลมคล้ายเข็ม และแต่ละใบจะมีสีสันโดดเด่น 3 สีสะดุดตา ฟอร์มต้นสวยงาม คนก็เลยนำมาปลูกตกแต่ง ประดับสวนหย่อมหรือปลูกริมสระว่ายน้ำ ไม้พุ่ม แตกกิ่งก้านตามข้อของลำต้น  ลำต้นตั้งตรง มีขนาดเล็ก  และแตกพุ่มใบที่ปลายกิ่ง ทำให้ได้รูปทรงของลำต้นที่สวยงาม  สูงประมาณ 2 เมตร ใบเป็นใบเดียว ออกสลับตามกิ่ง ลักษณะใบเรียวยาว ที่โคนใบจะเป็นกาบหุ้มกิ่ง ส่วนปลายใบปลายแหลม มีแถบสี 3 แถบพาดไปตามความยาวของใบ โดยมีสีแดงอยู่ด้านนอกสุด  สีครีมและสีเขียวอยู่กลางใบพอดี ออกดอกช่วงเดือนเมษายน ส่วนดอก เป็นดอกสีขาวอมเขียว มีกลิ่นหอมตอนกลางคืน จะออกดอกเป็นช่อตามแขนงกิ่ง ดอกโรยแล้วจะกลายเป็นผลรูปไข่  สีเหลือง ส้มหรือแดง เป็นไม้ที่ชอบแดดจัด เหมาะกับการปลูกกลางแจ้ง  ดินที่ใช้ปลูกควรจะเป็นดินร่วมหรือดินปนทราย หรือดินที่ระบายน้ำได้ดี  และถึงจะชอบให้รดน้ำแต่ก็ไม่ชอบให้รดจนน้ำขังโคนต้นหรือดินแฉะจนเกินไป ถ้าใบเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแสดงว่าให้น้ำมากเกินไป ให้งดการให้น้ำ รอจนดินแห้งค่อยรดน้ำ  ส่วนการขยายพันธุ์ใช้การชำกิ่ง ต้องมีการตัดแต่งใบแก่หรือใบแห้งทิ้ง นิยมปลูกเป็นกลุ่มหลายๆ ต้น  เป็นไม้ประธานในสวน หรือปลูกริมสระว่ายน้ำ หรือปลูกเพื่อพรางสายตาจากภายนอก ควรปลูกใกล้ๆ กับต้นไม้ที่ให้ใบสีเขียวจะยิ่งช่วยขับให้เข็มสามสีดูสวยขึ้น นอกจากปลูกประดับสวยงามแล้ว ต้นเข็มสามียังเป็นต้นไม้ที่ช่วยดูดสาร Benzene  ที่มีอยู่ในน้ำมัน หมึก สีทาบ้าน ได้อีกด้วย


Video










วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2559

การบ้านท้ายบท

คำถาม?
1.ใครเป็นผู้ค้นพบถึงประสิทธิภาพของการกำจัดสารพิษหรือมลภาวะในอากาศของต้นไม้ประดับ?
2.ไม้ประดับที่มีความสามารถดูดไอพิษจากอากาศมีจำนวนกี่ชนิดอะไรบ้าง?
3. ต้นไม้ที่สามารถดูดมลพิษ หรือฟอกอากาศภายในบ้านได้มีกี่ชนิดอะไรบ้าง?


     ดร.บี ซี วูฟเวอร์ตัน (Dr. B.C. Wolverton) นักวิจัยแห่งสถาบันวิจัยอวกาศนาซ่า สหรัฐอเมริกา ได้ทำการวิจัยมาเป็นเวลากว่า 25 ปี จนค้นพบความสามารถ และประสิทธิภาพของไม้ประดับในการกำจัดสารพิษหรือมลภาวะในอากาศได้อย่างดีเยี่ยม และผลการวิจัยนี้ก็ได้เผยแพร่ออกไปทั่วโลก
    ดร.บี ซี วูฟเวอร์ตัน ได้เขียนหนังสือ Eco-Friendly House Plant หรือ ไม้ประดับที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยแนะนำไม้ดอกไม้ประดับ 50 ชนิด ที่มีความสามารถในการดูดไอพิษจากอากาศ ไม่ว่าจะเป็นฟอร์มาดิไฮด์ แอมโมเนีย ไซลีน ทูลีน รวมทั้งไอเสียที่เกิดจากมนุษย์ ซึ่งไม้ประดับส่วนใหญ่ที่ ดร.วูฟเวอร์ตันแนะนำนั้นเป็นไม้ประดับที่เราคุ้นหน้าคุ้นตาเป็นอย่างดี เป็นไม้ประดับที่สวยงาม ดูแลรักษาง่าย เป็นไม้ประดับที่นิยมปลูกกันโดยทั่วไป เพียงแต่เราไม่เคยได้ล่วงรู้ถึงคุณสมบัติในการดูดสารพิษของไม้ประดับเหล่านี้มาก่อน

     ต้นไม้ประดับมี50ชนิดด้วยกันคือ 

   บอสตันเฟิน เบญจมาศ เยอบิร่า สิบสองปันนา วาสนาราชินี ปาล์มไผ่ เฟิร์นดาบออสเตรเลีย ยางอินเดีย ตีนตุ๊กแกฝรั่ง ไทรย้อยใบแหลม เดหลี หมากเหลือง วาสนาอธิษฐาน จั๋ง หนวดปลาหมึก เข็มริมแดง ประกายเงิน เศรษฐีไซ่ง่อน กล้วยไม้หวาย สาวน้อยประแป้ง ทิวลิป ไทรใบเล็ก  เสน่ห์จันทน์แดง ปาล์มใบไผ่ กุหลาบพันปี เขียวหมื่นปี เศรษฐีเรือนใน กล้วยแคระ มรกตแดง สโนว์ดรอป  ฟิโลหูช้าง พลูด่าง สนฉัตร บิโกเนียใบมัน แววมยุรา ไอวี มังกรคาบแก้ว ฟิโลเซลลอม เงินไหลมา ฟิโลใบหัวใจ หน้าวัวเปลวเทียน คล้าหางนกยูง คริสต์มาส ไซคลาเมน กล้วยไม้ฟาแลนอปซีส สับปะรดสี  โกสน ลิ้นมังกร ว่านหางจระเข้ กุหลาบหิน

     ต้นไม้ที่สามารถดูดมลพิษ หรือฟอกอากาศภายในบ้านได้มี 20 ชนิด

1. ปาล์มสิบสองปันนา (Dwarf Date Palm)
2. บอสตันเฟิร์น (Boston Fern)
3. เศรษฐีเรือนใน (Spider Plant)
4. เฟิร์นดาบออสเตรเลีย (Kimberley Queen Fern)
5. แก้วกาญจนา (Chinese Evergreen)
6. ปาล์มใบไผ่ (Bamboo Palm)
7. ไทรย้อยใบแหลม (Weeping Fig)
8. พลูด่าง ( Golden Pothos )
9. หน้าวัว (Flamingo Lily)
10. เสน่ห์จันทร์แดง (Araceae)
11. จั๋ง (Broadleaf Lady Palm)
12. เยอบีรา (Barberton Daisy)
13. วาสนา (Janet Craig)
14. ตีนตุ๊กแกฝรั่ง (English Ivy)
15. ลิ้นมังกร (Variegated Snake Plant)
16. เงินไหลมา (Arrowhead Vine)
17. เดหลี (Peace Lily)
18. เบญจมาศ (Chrysanthemum)
19. เข็มริมแดง (Dragon Tree)
20. หางจระเข้ (Aloe Vera)

Creative Commons License


อ้างอิง

http://iamkittisak.blogspot.com/2010/06/blog-post_30.html

http://www.panmai.com/Pollution/Pollution.shtml

http://decor.mthai.com/garden/18502.html





This work is licensed under a Creative Commons Attribution 4.0 International License.

Page Profile


Creative Commons License

ชื่อ: นางสาวนันทพร  เกรียงไกร
ชื่อเล่น: นัทตี้ (นัท)
เกิดวันที่: 19 ธันวาคม 2536
ศึกษาอยู่ที่: มหาวิทยาลัยรังสิต
วิทยาลัยนิเทศศาสตร์
สาขาสื่อสารการตลาด IMC
ID Line : nattynovy
Facebook : Natty Novy

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา 4.0 International.